วันเสาร์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2553

สัปดาห์ที่ 2

กิจกรรมที่ 1 นักศึกษาชมภาพยนต์เรื่องครูแรมจันทร์ ให้สรุปบทหน้าที่ของครูแรมจันทร์เหมาะสมกับความเป็นครูหรือใหม่ และผู้เรียนสรุปเป็น Mind map นำเสนอเป็นกลุ่มและทุกคนสรุปส่งอาจารย์

กิจกรรมที่ 2 ให้ผู้เรียนศึกษาพระราโชวาทสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และให้นักศึกษาสรุปเขียนเป็น Mind Map ว่าในความเห็นของพระองค์ท่าน บุคคลที่เป็นครูควรมีสมบัติความเป็นครูอย่างไร ให้นักศึกษาส่งงานในสัปดาห์ต่อไป

๑. พระราโชวาทสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ๑๘ พ.ค.๒๕๒๖(ฉบับที่ ๑)

๒. พระราโชวาทสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ๑๘ พ.ค. ๒๕๒๖(ฉบับที่ ๒)

๓. พระราโชวาทสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ๑๙ พ.ค. ๒๕๒๖(ฉบับที่ ๑)

๔. พระราโชวาทสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ๑๙ พ.ค. ๒๕๒๖(ฉบับที่ ๒)

๕. พระราโชวาทสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ๒๐ พ.ค. ๒๕๒๖(ฉบับที่ ๑)

๖. พระราโชวาทสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ๒๐ พ.ค. ๒๕๒๖(ฉบับที่ ๒)

วันเสาร์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2553

แหล่งเรียนรู้ Mindmap

http://th.wikipedia.org/wiki/ผังมโนภาพ

http://www.ayutthaya.doae.go.th/KM/bestayut0002.doc

http://www.pbro.moph.go.th/semina/km/New%20km/6_mindMap.ppt

http://www.dpu.ac.th/techno/page.php?id=3335

http://blog.eduzones.com/applezavip/19718

Mindmap

Mind Map คืออะไร
Mind Map หรือ แผนที่ความคิด เป็นวิธีการบันทึกความคิดเพื่อให้เห็นภาพของความคิดที่หลากหลายมุมมอง ที่กว้าง และที่ชัดเจน โดยยังไม่จัดระบบระเบียบความคิดใดๆ ทั้งสิ้น เป็นการเขียนตามความคิด ที่เกิดขึ้นขณะนั้น การเขียนมีลักษณะเหมือนต้นไม้แตกกิ่งก้านสาขาออกไปเรื่อยๆ ทำให้สมองได้คิดได้ทำงานตามธรรมชาติ และมีการจินตนาการกว้างไกล

แผนที่ความคิด ยังเป็นวิธีการหนึ่งที่ใช้ในการบันทึกความคิดของการอภิปรายกลุ่ม หรือการระดมความคิด โดยให้สมาชิกทุกคนเสนอความคิดเห็น และวิทยากรจะทำการจดบันทึกด้วยคำสั้นๆ คำโตๆ ให้ทุกคนมองเห็น พร้อมทั้งโยงเข้าหากิ่งก้านที่เกี่ยวข้องกัน เพื่อรวบรวมความคิดที่หลากหลายของทุกคน ไว้ในแผ่นกระดาษแผ่นเดียว ทำให้ทุกคนได้เห็นภาพความคิดของผู้อื่นได้ชัดเจน และเกิดความคิดใหม่ต่อไป

ตัวอย่างการสร้าง MIndMap

การ์ตูน

สัปดาห์ที่ 1

๑. มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพครู
๑.๑ มาตรฐานความรู้
มีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการศึกษา หรือเทียบเท่าหรือคุณวุฒิอื่นที่คุรุสภารับรองโดยมีความรู้ ดังต่อไปนี้
๑. ภาษาและเทคโนโลยีสำหรับครู
๒. การพัฒนาหลักสูตร
๓. การจัดการเรียนรู้
๔. จิตวิทยาสำหรับครู
๖. การบริหารจัดการชั้นเรียน
๗. การวิจัยทางการศึกษา
๘. นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
๙. ความเป็นครู
๑.๒ มาตรฐานประสบการณ์วิชาชีพ
ผ่านการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาตามหลักสูตรปริญญาทางการศึกษาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๑ ปี และผ่านเกณฑ์การประเมินปฏิบัติการสอนตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด ดังต่อไปนี้
๑. การฝึกปฏิบัติวิชาชีพระหว่างเรียน
๒. การปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาในสาขาวิชาเฉพาะ
๙. ความเป็นครู
สาระความรู้
๑. ความสำคัญของวิชาชีพ บทบาท หน้าที่ ภาระงานของครู
๒. พัฒนาการของวิชาชีพครู
๓. คุณลักษณะของครูที่ดี
๔. การสร้างทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพครู
๕. การเสริมสร้างศักยภาพและสมรรถภาพของครู
๖. การเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ และการเป็นผู้นำทางวิชาการ
๗. เกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครู
๘. จรรยาบรรณของวิชาชีพครู
๙. กฏหมายที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา
สมรรถนะ
๑. รัก เมตตา และปรารถนาดีต่อผู้เรียน
๒. อดทนและรับผิดชอบ
๓. เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ และเป็นผูนำทางวิชาการ
๔. มีวิสัยทัศน์
๕. ศรัทธาในวิชาชีพครู
๖. ปฏิบัติตามจรรยาบรรณของวิชาชีพครู